วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ทุกขสัจ

  บางท่านก็เป็นเทวดา บางท่านก็เป็นรูปพรหม บรรลุอรหัตตผล เมื่อใช้ชีวิตอยู่ในภพภูมินั้นๆหรือภูมิที่สูงที่สุดนั้น แล้วแตกกายทำลายขันธ์นั้นแหละ พระนิพพานธาตุของท่านจึงปรากฎสถิติถาวรอยู่ในอายนิพพาน ไม่ได้สูญไปไหน กรณี เช่นนี้ พระนิพาน ชื่อว่าเป็นธรรมชาติสูญ โดยความสูญ เพราะความไม่มีสังขารอย่างนี้แหละ ชื่อว่า ปรมัตถสูญ มีพระบาลีรับรองว่า
                   ปรมตถสุญญนติ     สพพสงขาราภาวโต
                           อุตตมตถภูต สุญญ
             แปลความหมายว่า  บท ปรมตถสุญญ คือ ความสูญอันเป็นประโยชน์อย่างสูงสุด เพราะ ไม่มีสังขารทั้งปวง 
      เพราะฉะนั้น สพเพ ธมมา อเนตตา ที่เป็นอนัตตานั้นก็มี สภาพหนึ่งที่สำคัญ คือสภาพสูญสังขารนั้นแหละ หรือธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ นั้นแหละเป็นตัวสูญเอง จึงชื่อว่า สพเพ ธมมา อนตตา ไม่ใช่พระนิพพานธาตุเป็นตัวสูญเองแต่ประการใด
        ที่กล่าวมาทั้งหมดเพื่อให้เ็ห็นเส้นทางที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้พระอริยสัจทั้ง ๔ ซึ่ง ได้นำมากล่าวเพียงประการเดียวก่อน เรื่อง ทุกขสัจจะ เพื่อทราบว่าคำว่า ทุกข์ นี่มีความหมายอย่างไร ขอทบทวนอีกครั้งหนึ่งว่า

    ในอริยสัจนี้ทุกข์ทั้งหมดเป็นอย่างเดียวกันโดยความเป็นไปก็ คือ ทุกขตาความเป็นทุกข์ของสังขารนั้นเอง เป็น ๒ อย่างโดยนาม และรูป เป็น ๓ อย่างโดยประเภทแห่งภาพภพที่เกิด โดยกามภพ รูปภพ
อรูปภพ นี้ก็คือธรรม ที่เป็นไปในภูมิ ๓ นั้นเอง เป็น ๔ อย่างโดยประเภท ของอาหารสี่ กวฬิงการาหาร ผัสสสหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร และเป็น ๕ อย่าง โดยประเภทของอุปาทานขันธ์ ๕
ดังที่เราสวดมนต์ ทำวัตรเช้า ว่า สงขิตเตน ปญจุปาทานกขนธนา ทุกขา กล่าวโดยย่อ อุปทาน ในขันธ์
 ๕ นั้นและ เป็นตัวทุกข์ และทุกตัวนี้ครอบคุมความหมายถึงเฉพาะธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ เท่านั้น เมื่อรู้อย่างนี้ เมื่อรู้ทุกข์ต้องรู้อนิจจัง รู้อนัตตา เพราะทุกข์เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันหรือเป็นลักษณะที่เกี่ยวพัน
สัมพันธ์กันเกือบจะเป็นเนื้อเดียวกัน เหมือนกับโซ่ ๓ ห่วง เมื่อพูดถึงเรื่องทุกข์ ต้องแน่นอนว่า อะไร
เป็นอนิจัง เป็นอนัตตา สิ่งนั้นแหละเป็นอนิจัง ทุขขัง เพราะฉะนั้น เฉพาะธรรมธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓
หรือเบญจขันธ์ หรือนามรูปเท่านั้นที่เป็นทุกข์ตามความหมายนี้ คือ ทุกขสัจจะนี้ จิงเป็น อนิจฺจ ทุกข
อนตตา ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปในภูมิที่ ๔ คือ พระนิพานที่พ้นจากจักรวาลหรือภพ ๓ นี้ไป
พระนิพานธาตุโดยปรมัตถ์นั้นหาได้อยู่ในอารัติแห่งพระไตรลักษณ์อย่างนี้ไม่ มีเอกสารหลักฐานพร้อมอย่างนี้



อ้างอิง

สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือ/เอกสาร
ชื่อหนังสือ : อริยะสัจ ๔
ผู้แต่ง : พระมหาเสริมชัย ชยมงคโล ป.ธ.๖